นายกรกนก สังฆะพันธ์
เจ้าของบ้านหนังสือชุมชนบ้านศรีเจริญ หมู่ 6 ตำบลอ้อมกอ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
นายกรกนก สังฆะพันธ์
เจ้าของบ้านหนังสือชุมชนบ้านศรีเจริญ หมู่ 6 ตำบลอ้อมกอ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
นายสุดใจ เสียงอ่อน (ปราญ์ชชาวบ้าน)
นายสุดใจ เสียงอ่อน เกิดที่บ้านโนนศรีทอง หมู่ 10 ตำบลอ้อมกอ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี มีความรู้ความสามารถด้านหมอพรหม การสวดมนต์ การทำขวัญนาค และพิธีมงคลต่างๆ ที่จัดขึ้นภายในตำบลอ้อมกอ และหมู่บ้านใกล้เคียง
หมอสูตรขวัญ
หมอสูดขวัญ(หรือสู่ขวัญ) เป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งเป็นพิธีของศาสนาพราหมณ์หรือบางครั้งเรียกว่าพราหมณ์ ซึ่งหมอสูดขวัญจะเป็นที่เคารพของคนในหมู่บ้าน การประกอบพิธีจะนุ่งขาวห่มขาว หรือห่มผ้าขาวม้าในการประกอบพิธีกรรม ส่วน ในการสูดขวัญพรหามณ์จะทำการกล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วจะมีการอัญเชิญอ้อนวอนเทวดา เป็นภาษาบาลี ที่ขึ้นต้นว่า "สักเค กาเม จารูเป ฯลฯ ในการประอบพิธีส่วนใหญ่จะมีการทำบายศรีสู่ขวัญ ในงานต่างๆ ดังนี้ เช่น งานบวช งานแต่ง งานขึ้นบ้านใหม่ งานบวช งานเลื่อนขั้น ตำแหน่ง ในการบายศรีโดยหมอสูดขวัญหรือหมอพราหมณ์ จะมีเครื่องบายศรีที่ทำด้วยใบตองสด พร้อม มีการเตรียมขนม กล้วย ข้าวเหนียว ฝ้ายผูกแขน เพื่อใช้ในการประกอบพิธี เมื่อสูดขวัญเสร็จแล้วจะมีการนำฝ้ายผูกแขนมาผูกเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ประกอบพิธี
พิธีบวงศรวงอุทยาอ้อมฤดีมีการบวงศรวงมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมากเพื่อเป็นการรำถวายปู่หอคำและปู่องค์ดำที่ประทับอยู่ภายใสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ เพื่อปกปักรักษาบ้านเมือง ลูกหลาน ชาวตำบลอ้อมกอให้อยู่เย็นเป็นสุข และปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดีอย่าได้เข้ามาทำร้าย หรือทำลายชาวบ้าน และยังเป็นการแสดงความเคารพ สักการะบูชาของชาวตำบลอ้อมกอเป็นที่จิตใจของคนที่ศัทธราและเคารพนับถือมาโดยตลอด
ประเพณีบวงศรวงปู่หอคำนี้จะจัดขึ้นทุกวีนที่ 9 เดือน พฤษภาคม ของทุกๆปี จะมีการจัดนางรำรำถวาย การตั้งเครื่องบวงศรวงพานบายศรี ผลไม้ พร้อมทั้งมีการจุดบั้งไฟถวายแด่องค์ปู่หอคำเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ผู้นำมาถวายและทุกคนที่เข้าร่วมประเพณีนี้
พระบรมสารีริกธาตุ เป็นธาตุพิเศษอันเกิดจากพระวรกายของพระพุทธเจ้าผู้ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระปัญญาธิคุณ ภายหลังการเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระบรมสารีริกธาตุจึงเป็นสิ่งมีคุณค่ายิ่งกว่าปูชนียวัตถุอื่นใดในโลกนี้ เพราะเป็นสัญลักษณ์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแห่งการดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนา
การใช้ศัพท์เรียกกระดูกหรือส่วนที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธเจ้าที่ยังเหลือจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ จึงได้มีการบัญญัติศัพท์เรียกให้ชัดลงไปโดยเฉพาะว่า “พระบรมสารีริกธาตุ หมายถึง พระธาตุที่นับเนื่องหรือเป็นส่วนทางร่างกายหรือพระวรกายของพระองค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับธาตุของพระอริยสาวก และมิได้หมายถึงพระธาตูเจดีย์ หรือธาตุสถูป” นอกจากนั้น ชาวพุทธยังถือคติว่า การสร้างพุทธเจดีย์ก็เพื่อบูชาพระพุทธคุณ จึงพยายามแสวงหาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าแล้วสร้างสถูปหรือเจดีย์บรจุไว้เป็นที่สักการบูชา พระเจดีย์หรือพุทธเจดีย์ นิยมแบ่งเป็นชนิดต่างๆ ตามหน้าที่ของการสร้างไว้เป็นอนุสรณ์ หรือวัตถุที่ใช้บรรจุไว้ในพระเจดีย์ เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธเจ้าที่ปรินิพานไปแล้ว โดยได้แบ่งประเภทแห่งพระเจดีย์ไว้ 4 ประเภท คือ
1. ธาตุเจดีย์ ได้แก่ เจดีย์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระธาตุของพระอรหันตสาวก เช่น ในประเทศไทยได้มีการสร้างพระเจดีย์สำคัญๆ เช่น พระปฐมเจดีย์ พระธาตุพนม พระธาตุดอยสุเทพ พระบรมบรรพต(ภูเขาทอง)
2. บริโภคเจดีย์ ได้แก่ สิ่งที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น สังเวชนียสถาน 4 ตำบล และมีการเพิ่มเข้ามาอีกว่า สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปาฎิหาริย์ สถานที่บรรจุพระอังคาร สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ สถานที่บรรจุทะนานโลหิตที่ตวงพระธาตุ ตลอดจนนับการรับพันธุ์พระศรีมหาโพธิ์ไปปลูกในสถานที่ต่างๆ เป็นบริโภคเจดีย์อีกด้วย และยังนับเครื่องบริขารของพระพุทธเจ้า มีบาตร จีวร บริขารพิเศษ มีธัมมกรก เสนาสนะ เตียง ตั่ง กุฏิ วิหาร เป็นต้น
3. ธรรมเจดีย์ ได้แก่ การจารึกข้อพระธรรมไว้บูชา ในชั้นเดิมมักเลือกเอาข้อพระธรรมที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เช่น คาถาแสดงพระอริยสัจ 4 มาจารึกไว้บูชา ต่อเมื่อภายหลังมีการจารึกพระธรรมลงเป็นตัวอักษรแล้ว ก็นับพระไตรปิฎกเป็นธรรมเจดีย์เช่นเดียวกัน
4. อุเทสิกเจดีย์ ได้แก่ สิ่งที่เราสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระรัตนตรัย โดยไม่มีการกำหนดรูปแบบอย่างชัดเจน อยู่นอกเหนือจากพุทธเจดีย์อย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวกับสามข้อข้างต้นเช่น พระพุทธรูป พระผง พระเครื่อง พระพุทธบาท(จำลอง) ฯลฯ ทั้งนี้ รวมถึงพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุจำลองด้วย แต่ชั้นเดิม ในอินเดียยังไม่มีคติการสร้างรูปเคารพ จึงทำเป็นเครื่องหมายแทนพระพุทธองค์ เป็นต้นว่า รูปม้าผูกเครื่องอานเปล่าแทนตอนเสด็จออกพระมหาภิเนษกรมณ์ รวมถึงประติมากรรมต่างๆ ที่สร้างด้วยถาวรวัตถุมีค่ามากบ้าง น้อยบ้าง เช่น ทำด้วยเงิน ทอง แก้วมณี ศิลา โลหะ ดิน และไม้ เป็นต้น
พระบรมสารีริกธาตุจึงถือว่ามีบทบาทสำคัญต่อชาวพุทเป็นอย่างมาก แม้ในการประพฤติปฏิบัติตามประเพณีต่างๆ มักจะนำพระบรมสารีริกธาตุเป็นสื่อนำการบำเพ็ญประเพณี เช่น ประเพณีขึ้นพระธาตุ ประเพณีแห่พระบรมสารีริกธาตุ เป็นต้น แม้ในการพระบรมศพก็มีการนำพระบรมสารีริกธาตุไปร่วมสมโภชด้วย ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชการที่ 2 ตอนหนึ่งว่า
“ถึง ณ วันเสาร์ เดือน 6 ขึ้น 5 ค่ำ เชิญพระบรมสารีริกธาตุแต่ในพระบรมมหาราชวังตั้งกระบวนแห่ออกไปยังพระเมรุมาศ ประดิษฐานพระเบญจาทอง พระสงฆ์ราชาคณะฐานานุกรม เปรียญฝ่ายคามวาสี อรัญวาสี 80 รูป เจริญพระพุทธมนต์ มีหนัง จุดดอกไม้เพลิง เป็นการสมโภชพระบรมสารีริกธาตุวันหนึ่งคืนหนึ่ง...เวลาบ่ายทิ้งทานเวลาค่ำ จึงแห่พระบรมสารีริกธาตุกลับเข้ามาในพระบรมมหาราชวัง”
การเกิดของพระธาตุเป็นเรื่องปาฏิหาริย์ เพราะกระดูกที่เผาไฟหรือยังไม่เผาไฟก็ดี สามารถแปรเปลี่ยนเป็นผลึกรูปร่างต่างๆ สีสันสวยงาม คล้ายกรวด คล้ายแก้ว แม้กระทั่งผม เล็บ ฟัน ก็สามารถแปรเป็นพระธาตุได้เช่นตามคำอธิษฐานก่อนนิพพาน ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาพระไตรปิฎก ตลอดทั้งตำราพระธาตุโบราณได้กล่าวถึงเหตุที่ทำให้เกิดพระบรมสารีริกธาตุว่า เป็นพุทธประสงค์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพานซึ่งจะแตกต่างกันไปแต่ละพระองค์ โดยแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. พระพุทธเจ้าที่ทรงมีพระชนมายุยืนยาว สามารถประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคง พระบรมสารีริกธาตุจะมีลักษณะรวมกันเป็นแท่งเดียว ดุจทองธรรมชาติ
2. พระพุทธเจ้าที่ทรงมีพระชนมายุไม่ยืนยาว เช่น พระโคดมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ซึ่งมีเวลาปฏิบัติพุทธกิจเพียง 45 ปี ซึ่งนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับพระพุทธเจ้าองค์ก่อนหน้า ได้ทรงอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แตกย่อยลงกระจายไปในที่ต่างๆ เพื่อที่พุทธศาสนิกชนจะได้นำไปเคารพสักการะ และเพื่อเป็นพุทธานุสติและธัมมานุสติ
พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ได้ประดิษฐานอยู่บนมนุษยโลกชั่วระยะเวลาหนึ่ง จนเมื่อพระพุทธศาสนาได้เสื่อมลง พระบรมสารีริกธาตุก็จะอันตรธานไป จึงเรียกว่า “ธาตุอันตรธาน” ซึ่งหมายถึงพระบรมสารีริกธาตุได้หายไป ไม่ปรากฏให้เห็น แต่ไม่ได้หมายความว่าสูญสิ้นไปจากโลก ดังพระพุทธดำรัสที่ตรัสกับพระอานนท์ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม”
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วผู้ประสงค์จะเห็นพระพุทธเจ้าขอให้อธิษฐานจิตบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนากล่าวคำอธิษฐานขอให้พระบรมสารีริกธาตุเสด็จมา ณ ภาชนะหรือสถานที่เหมาะสมซึ่งจัดเรียมเอาไว้ เมื่อทำความดีถึงขั้น พระบรมสารีริกธาตุก็จะเสด็จมาตามที่
สถานที่ตั้งคือ วัดศรีชมชื่น หมู่ที่ ๑ บ้านอ้อมกอ ตำบลอ้อมกอ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เป็นวัดที่ชาวบ้านอ้อมกอและหมู่บ้านใกล้เคียงที่ให้ความเคารพสักการะเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน
วันที่ 8 ธันวาคม 2565 กศน.ตำบลอ้อมกอได้รับมอบหมายจาก ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ให้นำสินค้าศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนอำเภอบ้านดุงไปขายสินค้าในงานทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุดรธานี