วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

 นายกรกนก  สังฆะพันธ์  

เจ้าของบ้านหนังสือชุมชนบ้านศรีเจริญ  หมู่ 6 ตำบลอ้อมกอ  อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี

“บ้านหนังสือชุมชน” หมายถึง บ้านที่เจ้าของบ้านหรือสถานที่ได้อุทิศให้ใช้เป็นห้องสมุดประชาชนของชุมชน
ได้แก่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านค้า ร้านขายของ บ้านผู้มีจิตอาสา บ้านผู้นาชุมชน สถานประกอบการ ศาลาเอนกประสงค์
โรงพยาบาล มีเจ้าของบ้านเป็น ผู้มีจิตอาสาให้บริการดูแลเอาใจใส่ และเป็นสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนที่มีคนในชุมชน มาพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน โดยมี
          วัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้กับประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาร
และเพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้โดยจัดตั้งบ้านหนังสือ ชุมชนให้เป็นห้องสมุดประชาชน
ของชุมชน เป็นธนาคารความรู้ใกล้บ้านและมีข้อมูลข่าวสาร ใกล้ตัวที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย







 นายสุดใจ  เสียงอ่อน (ปราญ์ชชาวบ้าน) 

            นายสุดใจ  เสียงอ่อน  เกิดที่บ้านโนนศรีทอง  หมู่  10  ตำบลอ้อมกอ  อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี  มีความรู้ความสามารถด้านหมอพรหม  การสวดมนต์  การทำขวัญนาค  และพิธีมงคลต่างๆ ที่จัดขึ้นภายในตำบลอ้อมกอ  และหมู่บ้านใกล้เคียง 

หมอสูตรขวัญ

หมอสูดขวัญ(หรือสู่ขวัญ) เป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งเป็นพิธีของศาสนาพราหมณ์หรือบางครั้งเรียกว่าพราหมณ์ ซึ่งหมอสูดขวัญจะเป็นที่เคารพของคนในหมู่บ้าน การประกอบพิธีจะนุ่งขาวห่มขาว หรือห่มผ้าขาวม้าในการประกอบพิธีกรรม ส่วน ในการสูดขวัญพรหามณ์จะทำการกล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วจะมีการอัญเชิญอ้อนวอนเทวดา เป็นภาษาบาลี ที่ขึ้นต้นว่า "สักเค กาเม จารูเป ฯลฯ ในการประอบพิธีส่วนใหญ่จะมีการทำบายศรีสู่ขวัญ ในงานต่างๆ ดังนี้ เช่น งานบวช งานแต่ง งานขึ้นบ้านใหม่ งานบวช งานเลื่อนขั้น ตำแหน่ง ในการบายศรีโดยหมอสูดขวัญหรือหมอพราหมณ์ จะมีเครื่องบายศรีที่ทำด้วยใบตองสด พร้อม มีการเตรียมขนม กล้วย ข้าวเหนียว ฝ้ายผูกแขน เพื่อใช้ในการประกอบพิธี เมื่อสูดขวัญเสร็จแล้วจะมีการนำฝ้ายผูกแขนมาผูกเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ประกอบพิธี







วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

 วัดพุทธการิน

         วัดพุทธการิน  ตั้งอยู่บ้านโนนสมบัติ  หมู่  7  ตำบลอ้อมกอ  อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี เป็นสถานที่พบวัตถุโบราณเกี่ยววัตถุมงคล  ถ้วยชาม  และแจกันโบราณเป็นจำนวนมา่ก จึงได้นำมาเก็บไว้ให้ลูกหลานได้ชมความสวยงาม